ด้านแผนงาน
1. วางแผนงาน โครงการ หรือแผนการปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกองกลางให้สอดคล้องกับนโยบาย
และแผนกลยุทธ์ของสถาบันพระบรมราชชนก สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2. บูรณาการแผนงาน โครงการกิจกรรม เพื่อให้เป็นตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของของกองกลางตามที่กำหนด
3. ติดตาม เร่งรัด การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือ แผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินผลและ
รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกองกลางตามที่กำหนด
ด้านบริหารงาน
1. จัดระบบงาน และวิธีการปฏิบัติงานของกองกลาง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ในของกองกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ
2. มอบหมายกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกองกลาง เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3. พิจารณาอนุมัติ อนุญาตการดำเนินการต่าง ๆ ตามภารกิจที่กองกลางรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐเอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ หรือบูรณาการงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ
5. ชี้แจงข้อเท็จจริง พิจารณาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเวทีเจรจาต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งราชการในกรณีที่เป็น
ส่วนราชการภายในของกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ซึ่งแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา หรือในสายงานบริหารงานทั่วไป ในกรณีที่เป็นส่วนราชการที่มีอำนาจและหน้าที่
ในการบริหารงานทั่วไปในคณะ สถาบัน สำนักศูนย์หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
ซึ่งแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษา
ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
1. จัดระบบงานและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในของกองกลางให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
2. ติดตามและประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ของของกองกลาง บรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3. ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาของกองกลาง เพื่อให้เกิดความสามารถและสมรรถนะที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
ด้านการจัดสวัสดิการ
1. การจัดหารายได้สวัสดิการของสถาบันพระบรมราชชนก ช่วยอำนวยการและพิธี
ด้านรัฐพิธี พิธีการและกิจกรรมพิเศษ
1. จัดงานของสถาบันพระบรมราขนก ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเกษียณอายุราชการ งานวันสถาปนา งานลอยกระทง ทั้งพิธีการทางศาสนา วันสำคัญทางประเพณีไทย และงานราชพิธีต่าง ๆเพื่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2. งานรับพระราชทานปริญญาบัตร และงานมอบประกาศนียบัตร
ด้านอาคารสถานที่ และซ่อมบำรุง
การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานแม่บ้านทำความสะอาดในลักษณะของการกำกับดูแล ตรวจสอบ ควบคุมการทำความสะอาดในตัวอาคาร ของอาคารแต่ละหลังการบำรุงรักษาตัวอาคาร ตรวจสภาพอาคาร
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้ ควบคุม ดูแล รักษาความสะอาดบริเวณสาธารณะของอาคารดูแลสภาพอาคาร สิ่งก่อสร้าง ระบบประปา ไฟฟ้า หาข้อชำรุดบกพร่องเพื่อพิจารณาปรับปรุงและเสนอแนะแนวทางซ่อมแซม
1. จัดสถานที่ตามความต้องการในการใช้งาน เช่น ห้องประชุม อบรม สัมมนา
2. ดำเนินการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เกี่ยวกับหน่วยอาคารสถานที่ฯควบคุม ดูและการขอใช้สถานที่ของคณะฯ นอกเวลาราชการ
3. สำรวจการจ้างซ่อมครุภัณฑ์ อาคารเรียนคณะฯ รวมทั้งติดตามงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
4. จัดให้มีการบำรุงรักษาและซ่อมแซม เช่น งานซ่อมแซมครุภัณฑ์ งานซ่อมทั่วไป การบำรุงรักษาระบบประปา ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
5. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันพระบรมราชชนก
6. จัดทำสถิติรายการซ่อมต่าง ๆ
ด้านการบริการยานพาหนะ
1. จัดรถยนต์ให้บริการแก่บุคลากรของสถาบัน
2. จัดทำตารางการใช้รถประจำวัน
3. จัดทำตารางจองรถยนต์ เพื่อความสะดวกด้านบริการ
4. นำเสนอการขอใช้บริการรถยนต์ เพื่อผู้บริหารพิจารณาอนุมัติ
5. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ กรณีที่รถยนต์ของสถาบัน ไม่ว่างหรือติดราชการอื่น
6. ควบคุมดูแลการใช้รถยนต์ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
7. จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับงานหมวดยานพาหนะ
8. นำเสนอข้อมูลพนักงานขับรถที่เกี่ยวกับการชำรุดเสียหายของรถยนต์และความเห็นของเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับการซ่อมแซมบำรุงรักษา
9. จัดทำสถิติการใช้รถยนต์
10. จัดทำสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประจำทุกเดือน
11. ควบคุมดูแลพนักงานขับรถยนต์เพื่อให้ทำการบำรุงรักษารถยนต์ตามมาตรฐาน
12. บันทึกการใช้รถยนต์ทุกครั้งที่ให้บริการประจำวัน
13. ควบคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
14. สืบราคาและจัดทำเรื่องจัดซื้อวัสดุซ่อมรถเพื่อส่งให้หน่วยพัสดุดำเนินการ
งานสนับสนุนด้านวิชาการ
ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
1. วางแผนการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของของกองกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย พันธกิจและเป็นไปตามเป้าหมายของสถาบันพระบรมราชชนก
2. ติดตาม ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ของกองกลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่า เพียงพอ และเป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3. จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนงบประมาณของกองกลาง ประจำปีงบประมาณ
การประเมินประสิทธิผลประสิทธิภาพและความประหยัดในการจัดการและการบริหารงานของผู้บริหารในองค์กร จากนั้นจึงรวบรวม
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ทำรายงานเสนอแนะฝ่ายบริหาร เพื่อพิจารณา สั่งการแก้ไขปรับปรุงต่อไป วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการตรวจสอบแต่ละระบบงาน
หรือแต่ละกิจกรรม จะมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิธีการตรวจสอบ และสามารถแยกประเภท ของการตรวจสอบภายในที่ใช้กัน โดยทั่วไปเป็น 6 ประเภท
การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) เป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการขององค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
และเป้าหมาย หรือหลักการที่กำหนดการตรวจสอบเน้นถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ ความคุ้มค่า โดยต้องมีผลผลิตและผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมาย ซึ่งวัดจากตัวชี้วัด ที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเพียงพอ ความมีประสิทธิภาพ ของกิจกรรม การพัฒนาคุณภาพ 3 ตามหลัก
คุณธรรมและความโปร่งใส ๓ ประการ ดังนี้
1 การควบคุมภายใน และบริหารความเสี่ยง
1.1 ประกาศนโยบายการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง ที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ในการวางแผนจัดระบบกลไกการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงของสถาบันพระบรมราชชนก
1.2 จัดประชุม อบรมให้ความรู้ แก่บุคลากรเพื่อให้เกิดทักษะการจัดวางระบบและการประเมินผล ของการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงได้ตามความจำเป็น ในทุก ๆ วงรอบการประเมินผล
1.3 ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการประเมินผลการควบคุมภายในระดับสำนัก คณะ ดังนี้
1.3.1 ประเมินองค์กร 5 องค์ประกอบและสรุปผล ตามแบบปค.4 ตามวงรอบ
1.3.2 ดำเนินการนำยุทธศาสตร์ โครงการ กิจกรรม ในแต่ละปีงบประมาณมาวางแผนบริหารความเสี่ยง ตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากยุทธศาสตร์ที่กำหนด ตามแบบประเมินตนเอง Control Self Assessment (CSA) เพื่อนำข้อมูลที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขที่เกี่ยวข้องไปปรับปรุงงานในเชิงประจักษ์ พร้อมเขียนแผนควบคุมภายใน ปค.5 และแผนบริหารความเสี่ยง ตามแบบ Risk Planning เป็นรายหน่วยงานย่อยของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อกำหนดเวลาที่แล้วเสร็จในแต่ละกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน อย่างต่อเนื่อง ในทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง ตามรอบการประเมิน
1.3.3 ดำเนินการนำความเสี่ยง หรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเกิดระหว่าง หรือพบในงานประจำ มาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเกิดขึ้นใหม่ เพื่อนำไปสู่การเขียนแผนควบคุมภายในตามแบบ ปค.5 และตามแบบ Risk Planning
1.3.4 ติดตามกำกับให้คณะ สำนัก กอง ศูนย์ และหน่วยงานในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกดำเนินการจัดทำ Work Flow ในงานส่วนที่รับผิดชอบ รวบรวมเป็นคู่มือการดำเนินงานประจำหน่วยงานย่อย จัดส่งข้อมูล เพื่อการรวบรวมเป็นคู่มือให้กับเลขานุการคณะกรรมการวางระบบ หรือกลุ่มพัฒนามาตรฐานและตรวจสอบภายใน ของสถาบันพระบรมราชชนก ได้รวบรวมเป็นคู่มือในการดำเนินงานดังกล่าวได้
1.3.5 วางแผนทีมงานในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินผล เพื่อเตรียมการประเมินผลการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงของสถาบันพระบรมราชชนก แบบไขว้สายงาน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้รับผิดชอบในการเขียนรายงานการควบคุมภายในตามแบบ ปค.5 ประเมินผลงานตนเอง ที่เป็นของตนเอง และสรุปการประเมินผล ตามแบบรายงานติดตาม ปค.5 ใน 2 วงรอบต่อปี หรือทุก 6 เดือน
1.3.6 แจ้งแผนการประเมินผล หรือทำการตกลงเวลา ในการประเมินผลให้ผู้รับ การประเมินทุก คณะ สำนัก กอง ศูนย์ และวิทยาลัย ทราบกำหนดการประเมินผลล่วงหน้า
1.3.7 ดำเนินการประเมินผลให้แล้วเสร็จตามรอบเวลาที่กำหนด และนำส่งผลการประเมิน ตามแบบรายงานติดตาม ปค.5 ให้กับผู้รับการประเมิน และผู้ตรวจสอบ/สอบทาน ตามข้อ (2) เพื่อรวบรวมผล รายงานผลให้กับกลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
2. งานคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)
ของสถาบันพระบรมราชชนก
2.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการจัดทำแผน รวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐานการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) อำนวยความสะดวก ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณะกรรมการและบุคคลที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมินให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
2. 2 กำกับดูแลการประเมินในภาพรวมของหน่วยงาน อนุมัติการตอบแบบสอบถามการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาธารณะ (แบบ OIT) และกำกับติดตามการประเมินตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (internal integrity and transparency assessment : IIT) ให้ได้จำนวนตัวอย่างที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
2.3 ส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรในสังกัดตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (internal integrity and transparency assessment : IIT)
2.4 ส่งเสริม สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนสียแต่ละหน่วยงานตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT)
2.5 ประชาสัมพันธ์รายละเอียดการเข้าระบบ ITAS แก่บุคลากรในหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกในการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ให้เป็นไปตามระเบียบและมีการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
2.6 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน มีหน้าที่ลงทะเบียนและเปิดใช้งานระบบ ITAS ประสานงานในขั้นดำเนินการประเมินกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และตอบคำถามตามแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (แบบ OIT) ตามแนวทางที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และจัดเตรียม ข้อมูล รวบรวมเอกสาร หลักฐาน ตามแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะขึ้นเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบัน
2.7 รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสให้อธิการบดีตามปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของสถาบันพระบรมราชชนก
3. งานทะนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.1 กำหนดนโยบายทิศทางการดำเนินงานพัฒนาแนวทางการเป็นสำนักงานสีเขียว(Green Office) และถ่ายทอดนโยบายการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันสีเขียว
3.2 จัดทำแผนเพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว
3.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรและนักศึกษาในการนำนโยบายการเป็นสถาบันอุดมศึกษาสีเขียวไปสู่การปฏิบัติ
3.4 ติดตามการประเมินผล การดำเนินการพัฒนาแนวทางการเป็นสถาบันสีเขียว
และการถอดบทเรียนการพัฒนาแนวทางการเป็นสำนักงานสีเขียว เพื่อการวางแผนพัฒนาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน
3.4 สนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัด บุคลากร นักศึกษา ปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว
4. งานการจัดการความรู้ (KM) ของกองกลางและประชาสัมพันธ์
5. งานจัดทำการประเมินตนเองตามพันธกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถาบัน
6. รายงานรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัด ตามแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันรอบ ๓ เดือน
๖ เดือน ๙ เดือนและ ๑๒ เดือน
สงวนลิขสิทธิ์ © สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข